ปักกิ่ง, 30 ส.ค. 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
การประชุม เวิลด์ คาแนล ซิตีส์ ฟอรั่ม ประจำปี 2566 (2023 World Canal Cities Forum) เปิดฉากขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ณ เมืองหยางโจว "เมืองหลวงแห่งคลองของโลก" ในมณฑลเจียงซูทางภาคตะวันออกของจีน
The 2023 World Canal Cities Forum kicks off recently in Yangzhou, "the canal capital of the world" located in east China's Jiangsu Province.
การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้ธีม "การคุ้มครองมรดกเมืองริมคลอง การพัฒนาสีเขียวและคาร์บอนต่ำ" โดยสามารถดึงดูดผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 600 คนจากทั้งในและต่างประเทศ
ไม่เพียงมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมของคลองใหญ่ หรือแกรนด์คาแนล (Grand Canal) การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศ และการฟื้นฟูระบบนิเวศของเมืองริมคลองเท่านั้น แต่การประชุมดังกล่าวยังมุ่งส่งเสริมการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของเมืองริมคลองในรูปแบบบูรณาการอีกด้วย
นายเส้า หง (Shao Hong) รองประธานคณะกรรมการแห่งชาติของสภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งประชาชนจีน (CPPCC) กล่าวว่า เวทีนี้ตอบสนองต่อความท้าทายในการพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองริมคลองในยุคปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่เมืองริมคลองทั่วโลกมีร่วมกัน อีกทั้งการประชุมนี้ยังจะกระตุ้นให้เกิดแรงผลักดันใหม่ ๆ ในการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านมนุษยธรรม ตลอดจนการพัฒนาสีเขียวและคาร์บอนต่ำของเมืองริมคลองของโลก พร้อมทั้งสร้างความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน
ด้านนายซิน ฉางซิ่ง (Xin Changxing) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำมณฑลเจียงซู กล่าวว่า คลองใหญ่ถือเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมที่หล่อเลี้ยงอารยธรรมจีนบนดินแดนมณฑลเจียงซูมาอย่างยาวนาน คลองใหญ่เปรียบเสมือนเส้นเลือดสีเขียวในระบบนิเวศที่ขับเคลื่อนอารยธรรมเชิงนิเวศในมณฑลเจียงซู ตั้งแต่แนวคิดไปจนถึงการปฏิบัติ นอกจากนี้ คลองใหญ่ยังเปรียบดั่งหลอดเลือดแดงทางเศรษฐกิจที่ส่งเสริมการพัฒนามณฑลอย่างคึกคักและมีคุณภาพสูงอีกด้วย
ขณะที่นายหวัง จินเจียน (Wang Jinjian) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนประจำเมืองหยางโจว กล่าวในที่ประชุมว่า หยางโจวให้ความสำคัญกับการขยายอิทธิพลของแบรนด์ "เมืองหลวงแห่งคลองของโลก" โดยมุ่งมั่นที่จะทำให้คลองใหญ่ในส่วนที่พาดผ่านเมืองหยางโจวส่องประกายเจิดจรัสให้กับคลองใหญ่ทั่วทั้งเส้น พร้อมสร้างคุณประโยชน์ใหม่ ๆ และยิ่งใหญ่ขึ้นผ่านการก่อสร้างแนววัฒนธรรมเลียบคลองใหญ่ ตลอดจนอุทยานวัฒนธรรมแห่งชาติ
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ผลักดัน "แผนริเริ่มหยางโจว" (Yangzhou Initiative) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการคุ้มครองมรดก ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาสีเขียวและคาร์บอนต่ำของเมืองริมคลองของโลก
ขณะเดียวกันภายในงานยังประกอบด้วยการประชุมย่อย ซึ่งมีการลงนามโครงการประมาณ 54 โครงการ คิดเป็นมูลค่ากว่า 2 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 2.74 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ลิงก์ข่าวต้นฉบับ: https://en.imsilkroad.com/p/335831.html