omniture

สมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติยื่นคำร้องเพิ่มเติม คัดค้านการระบุสถานะลิงแสมโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

National Association for Biomedical Research
2024-02-02 12:46 129

วอชิงตัน, 2 กุมภาพันธ์ 2567 /PRNewswire/ -- สมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติ (National Association for Biomedical Research หรือ NABR) ร่วมมือกับนักวิทยาศาสตร์อิสระซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือ ยื่นคำร้องเพิ่มเติมต่อองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature หรือ IUCN) ในวันนี้ เพื่อคัดค้านการระบุสถานะลิงแสม (Macaca fascicularis) เป็นชนิดพันธุ์ "ใกล้สูญพันธุ์" หรือ "เปราะบาง" ภายใต้เกณฑ์การจำแนกประเภทสถานะของ IUCN

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566 คณะกรรมการมาตรฐานและการร้องเรียนขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ได้รับคำร้องเบื้องต้นของสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติ ซึ่งคัดค้านการระบุสถานะลิงแสมเป็นชนิดพันธุ์ "ใกล้สูญพันธุ์" โดย IUCN เมื่อปี 2565 โดยคำร้องเบื้องต้นดังกล่าวนี้ของสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติ ซึ่งยื่นต่อ IUCN เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 สรุปว่า ข้อสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์สำหรับการระบุสถานะใกล้สูญพันธุ์นั้น "เอนเอียง" และ "มิได้อิงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดที่มีอยู่"

ก่อนหน้าเดือนกรกฎาคม 2565 ลิงแสมถูกจัดอยู่ในกลุ่มชนิดพันธุ์ "เปราะบาง" โดย IUCN ต่อมาในปี 2565 IUCN แก้ไขการระบุสถานะดังกล่าวเป็น "ใกล้สูญพันธุ์" โดยอิงจากงานทบทวนทางวิทยาศาสตร์ตีพิมพ์โดยแฮนเซนและคณะ 2565 (Hansen et al. 2022)1 คำร้องเพิ่มเติมโดยสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติดังกล่าวนี้ เรียกร้องให้ IUCN เพิกถอนการระบุสถานะทั้ง "ใกล้สูญพันธุ์" และ "เปราะบาง" จนกว่าจะ "มีการประเมินใหม่สำหรับลิงแสม ที่ดำเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นอิสระอย่างแท้จริงซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบทบาทการสนับสนุนสำหรับชนิดพันธุ์เป้าหมาย"

การเรียกร้องเพิ่มเติมโดยสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาตินี้เกิดขึ้นหลังจากการตีพิมพ์ล่าสุดในวารสารวานรวิทยาอเมริกัน (The American Journal of Primatology) วารสารวิทยาศาสตร์ชื่อดัง ซึ่งทบทวนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการระบุสถานะการอนุรักษ์ลิงแสม2 งานตีพิมพ์ดังกล่าวนี้สรุปว่า "ไม่มีงานตีพิมพ์ที่อ้างถึงเพื่อสนับสนุนการระบุสถานะใกล้สูญพันธุ์โดย IUCN นำเสนอข้อมูลใด ๆ ที่สนับสนุนการลดลงตามข้อสันนิษฐาน และไม่มีงานใดบ่งชี้ว่าชนิดพันธุ์นี้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์"

"ทีมทบทวนทางวิทยาศาสตร์ของสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติ ยินดีที่ขณะนี้คณะกรรมการมาตรฐานและการร้องเรียนขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติจะทบทวนเรื่องนี้อย่างไม่มีอคติ" ดร.เรย์ ฮิลบอร์น (Dr. Ray Hilborn) นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังระดับโลกและสมาชิกทีมทบทวนทางวิทยาศาสตร์ของสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติ กล่าว

"จากการตีความข้อมูลผิด ซึ่งเกิดขึ้นในการประเมินปี 2565 และ 2563 เราคาดว่าคณะกรรมการมาตรฐานและการร้องเรียนของ IUCN จะเห็นพ้องกับข้อสรุปของเรา" ดร.ฮิลบอร์นกล่าวเสริม

การยื่นคำร้องเพิ่มเติมโดยสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาตินำไปสู่การเริ่มกระบวนการอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการมาตรฐานและการร้องเรียนของ IUCN ในการทบทวนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่เกี่ยวกับสถานะของชนิดพันธุ์ภายใต้ระเบียบการของ IUCN

ลิงแสมเป็นชนิดพันธุ์ที่ไม่ใช่สัตว์ฟันแทะที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากที่สุดสำหรับการพัฒนายา รวมไปถึงในการทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิศักย์ของยา นอกจากนี้ยังมีการใช้อย่างมากมายในการวิจัยมะเร็ง วิทยาศาสตร์ภูมิคุ้มกันวิทยา เวชศาสตร์เพื่อการฟื้นฟู และการวิจัยโรคทางพันธุกรรม

ลิงแสมถือเป็นชนิดพันธุ์รุกรานในหลายประเทศและภูมิภาค ทั้งฮ่องกง3 อินโดนีเซีย4,5 มอริเชียส6 ปาปัวนิวกินี7 และไทย8 เป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้วที่ประเทศในเอเชียและแอฟริกาได้เพาะพันธุ์ลิงแสมหางยาวปราศจากเชื้อก่อโรคโดยจำเพาะและส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ๆ สำหรับการวิจัยทางชีวการแพทย์ในห้องปฏิบัติการ

"คำร้องของสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติและบทความปี 2566 ที่ตีพิมพ์ในวารสารวานรวิทยาอเมริกันชี้ว่าลิงแสมไม่ได้ใกล้สูญพันธุ์หรือเปราะบาง แต่เป็นชนิดพันธุ์รุกรานอย่างมากที่เจริญเติบโตในประเทศส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่" คุณแมทธิว อาร์. เบลีย์ (Matthew R. Bailey) ประธานสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติ กล่าว

"เราเรียกร้องให้คณะกรรมการมาตรฐานและการร้องเรียนของ IUCN เพิกถอนการระบุสถานะที่ไม่เหมาะสมของชนิดพันธุ์นี้ว่าใกล้สูญพันธุ์หรือเปราะบาง และดำเนินการประเมินสถานะของชนิดพันธุ์นี้ใหม่โดยนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นอิสระ"

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำร้องของสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติได้ทางออนไลน์ที่ www.nabr.org.

เกี่ยวกับสมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติ

สมาคมวิจัยชีวการแพทย์แห่งชาติ (National Association for Biomedical Research หรือ NABR) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2522 เป็นสมาคมไม่แสวงกำไรตามกฎหมายมาตรา 501(c)(6) ของสหรัฐแห่งเดียวที่มุ่งอุทิศตนเพื่อนโยบายสาธารณะที่สมเหตุสมผลสำหรับการใช้สัตว์ในการวิจัย การศึกษา และการทดลองทางชีวการแพทย์อย่างมีมนุษยธรรม สมาชิกของสมาคมฯ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัย โรงเรียนแพทย์และโรงเรียนสัตวแพทย์ โรงพยาบาลเพื่อการเรียนการสอน บริษัทเภสัชภัณฑ์และเทคโนโลยีชีวภาพ กลุ่มผู้ป่วย และสมาคมวิชาการและสมาคมวิชาชีพกว่า 340 แห่ง ที่พึ่งพาการวิจัยในสัตว์อย่างมีมนุษยธรรมและความรับผิดชอบเพื่อส่งเสริมสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ในระดับโลก ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับเราได้ที่ www.nabr.org

1 ดู Hansen, M. F., Ang, A., Trinh, T. T. H., Sy, E., Paramasivam, S., Ahmed, T., Dimalibot, J., Jones–Engel, L., Ruppert, N., Griffioen, C., Lwin, N.,Phiapalath, P., Gray, R., Kite, S., Doak, N., Nijman, V., Fuentes, A., & Gumert, M. D. (2022). Macaca fascicularis (ลิงแสม) (amended version of 2022 assessment (การประเมินฉบับปรับปรุงแก้ไข ปี 2565)). The IUCN Red List of Threatened Species 2022 (บัญชีแดงรายชื่อชนิดพันธุ์เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของ IUCN). https://www.iucn.org/resources/conservation-tool/iucn-red-list-threatened-species

2 ดู Hilborn, R., & Smith, D. R. (2023). Is the long–tailed macaque at risk of extinction? (ลิงแสมเสี่ยงสูญพันธุ์หรือไม่) American Journal of Primatology (วารสารวานรวิทยาอเมริกัน), e23590. https://doi.org/10.1002/ajp.23590

3 https://www.afcd.gov.hk/english/conservation/con_fau/con_fau_mon/con_fau_mon_wild/con_fau_mon_wild.html

4 https://cites.org/sites/default/files/ndf_material/NDF_MEP_Indonesia_2023%20%281%29.pdf

5 https://www.researchgate.net/publication/346803479_Human_and_long-tailed_macaque_conflict_in_Central_Java_Indonesia 

6 https://link.springer.com/article/10.1007/s10764-022-00324-9

7 http://www.indopacific.org/wp-content/uploads/2017/02/papuamacaques-English-Version.pdf

8 https://www.thainationalparks.com/species/crab-eating-macaque

โลโก้ - https://mma.prnasia.com/media2/1138543/4526597/NABR_Logo.jpg?p=medium600 

Source: National Association for Biomedical Research
Keywords: Health Care/Hospital Medical/Pharmaceuticals Advocacy Group Opinion
Related News