นิวยอร์กและนอยดา, อินเดีย, 12 พ.ย. 2567/PRNewswire/ -- HCLTech บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ได้เผยแพร่งานวิจัยด้านความสามารถในการรับมือภัยทางไซเบอร์ระดับโลก (Global Cyber Resilience Study) ประจำปี 2567-2568 โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ที่มุ่งเสริมเกราะความพร้อมและความสามารถในการรับมือภัยทางไซเบอร์ รายงานดังกล่าวรวบรวมมุมมองจากผู้บริหารกว่า 1,500 รายจากหลากหลายอุตสาหกรรมในอเมริกาเหนือ ยุโรป ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ตามรายงาน ผู้บริหารด้านความปลอดภัย 81% คาดว่าองค์กรของตนจะประสบการโจมตีทางไซเบอร์ในอีก 12 เดือนข้างหน้า โดยมีเพียง 48% ที่เชื่อว่าสามารถป้องกันได้ ผู้บริหารด้านความปลอดภัย 54% ระบุว่าการโจมตีที่เกิดจาก AI คือประเด็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่สำคัญที่สุด ผู้บริหารด้านความปลอดภัย 76% เคยเผชิญความยากลำบากระดับสูงถึงปานกลางในการกลับมาดำเนินธุรกิจเต็มรูปแบบหลังถูกโจมตีทางไซเบอร์
"การสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลสำหรับองค์กรสมัยใหม่จำเป็นต้องมีความสามารถที่เข้มแข็งในการป้องกัน ตอบสนอง และฟื้นฟูต่อการโจมตีทางไซเบอร์ เมื่อภัยคุกคามจาก AI มีมากขึ้นและการฟื้นตัวทำได้ซับซ้อนยิ่งขึ้น การใช้กลยุทธ์ที่เน้นความสามารถในการรับมืออย่างครอบคลุมจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งรวมถึงการลงทุนในโซลูชันเพื่อรับมือภัยไซเบอร์ การควบคุมแบบ zero-trust และระบบอัตโนมัติที่ใช้ AI ช่วย อีกทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องมือความปลอดภัยผ่านแนวทางที่ใช้แพลตฟอร์ม ด้วยประสบการณ์กว่า 26 ปี เราเชื่อว่าโซลูชันที่เรามีจะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ มีสมดุลที่แข็งแกร่งขึ้นระหว่างการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านไซเบอร์และรับมือแรงกดดันด้านต้นทุน นำไปสู่การผลักดันประสิทธิภาพการดำเนินงานที่เพิ่มมากขึ้นในที่สุด" Jagadeshwar Gattu ประธาน ฝ่ายบริการพื้นฐานทางดิจิทัล บริษัท HCLTech กล่าว
อเมริกาเหนือพบว่ามีการรายงานโจมตีสูงที่สุด โดยผู้บริหารด้านความปลอดภัยที่สำรวจ 64% เผยว่าองค์กรของตนเคยตกเป็นเป้าหมาย ตามมาด้วยยุโรป 57% และ 51% ในภูมิภาคออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ เพื่อตอบสนองภัยคุกคามที่เพิ่มจำนวนขึ้น ผู้บริหารด้านความปลอดภัย 63% วางแผนเพิ่มการลงทุนด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในอีก 12 เดือนข้างหน้า การปรับปรุงการบริหารจัดการความเสี่ยงและการกำกับดูแลปรากฏเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นในผู้ตอบแบบสำรวจ 84% ตามติดมาด้วยการลงทุนในระบบอัตโนมัติด้าน SOC (ศูนย์ปฏิบัติการด้านความปลอดภัย) (76%) และความสามารถในการตอบสนองต่อเหตุการณ์และการฟื้นฟู (75%) สะท้อนให้เห็นการให้ความสำคัญอย่างชัดเจนต่อการเสริมสร้างมาตรการความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ
ในขณะที่ผู้บริหารด้านความปลอดภัยเพียง 35% รู้สึกมั่นใจในความเชี่ยวชาญของบริษัทตนเองในการบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ 90% คาดว่าจะพึ่งพาแหล่งภายนอกในการเสริมความสามารถบริษัท นอกจากนี้ เพียง 37% รู้สึกว่าตนมีประสิทธิผลในการสื่อสารทัศนคติด้านความปลอดภัยไอทีขององค์กรไปยังคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง ซึ่งเป็นการเน้นช่องว่างระหว่างความเชี่ยวชาญในบริษัทและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ที่ระดับผู้บริหาร
"ความปลอดภัยทางไซเบอร์คือความสามารถเชิงกลยุทธ์สำหรับธุรกิจต่าง ๆ และ CISO และ CRO (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารความเสี่ยง) ต้องทำหน้าที่เป็นสะพานสำคัญที่เชื่อมระหว่างคณะกรรมการและทีมงานเทคโนโลยี/ธุรกิจ เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การกำกับดูแลความเสี่ยงแบบเรียลไทม์และการดำเนินการควบคุมเพื่อรับมือกับสภาวะภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์เปลี่ยนไปทุกวัน การดำเนินนโยบายไซเบอร์อย่างมีประสิทธิผลนั้นต้องพึ่งพาระบบอัตโนมัติและ AI มากขึ้นเรื่อย ๆ" Amit Jain ผู้บริหารระดับสูง และหัวหน้าทีมระดับโลก ฝ่ายบริการความปลอดภัยทางไซเบอร์ บริษัท HCLTech "กรอบการทำงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ไดนามิกของ HCLTech ออกแบบมาตอบโจทย์ความท้าทายเหล่านี้ โดยปรับปรุงความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียและเสริมให้ความเตรียมพร้อมรับมือภัยไซเบอร์เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น"
อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://www.hcltech.com/digital-foundation/cyber-resilience-report
เกี่ยวกับ HCLTech
HCLTech คือบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก มีพนักงานกว่า 218,000 คนทั่ว 59 ประเทศ โดยมอบความสามารถชั้นนำในอุตสาหกรรม เน้นด้านดิจิทัล วิศวกรรม คลาวด์ และ AI ขับเคลื่อนโดยกลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการเทคโนโลยีที่หลากหลาย เราทำงานร่วมกับลูกค้าจากหลากธุรกิจ จัดหาโซลูชันระดับอุตสาหกรรมให้ภาคส่วนบริการทางการเงิน การผลิต วิทยาศาสตร์ชีวภาพและบริการสุขภาพ เทคโนโลยีและการบริการ โทรคมนาคมและสื่อ ค้าปลีกและสินค้าอุปโภคบริโภคบรรจุหีบห่อ และราชการ รายได้รวมในระยะเวลา 12 เดือนสิ้นสุดเดือนกันยายน 2567 อยู่ที่ 13.7 หมื่นล้านเหรียญ ศึกษาวิธีที่เราช่วยให้คุณก้าวหน้าแบบก้าวกระโดดได้ที่ hcltech.com.