omniture

ผู้เชี่ยวชาญจาก XJTLU เผยบทเรียนสำคัญจากสงครามขจัดความยากจนของจีน

Xi'an Jiaotong-Liverpool University
2021-03-01 20:45 241

ซูโจว, จีน--1 มีนาคม 2564--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ในปี 2559 จีนประกาศว่าจะดึง 832 อำเภอที่เหลือให้หลุดพ้นจากความยากจนสุดขีด (extreme poverty) ภายในปี 2563 และจีนก็สามารถทำตามเป้าหมายได้สำเร็จในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว นอกจากนี้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ประกาศ "ชัยชนะเบ็ดเสร็จเด็ดขาด" ในการต่อสู้เพื่อขจัดความยากจนสุดขีด ในพิธีเฉลิมฉลองซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่งเพื่อยกย่องผู้ที่มีบทบาทสำคัญในภารกิจนี้

Dr Alessandra Cappelletti (left), of Xi’an Jiaotong-Liverpool University, was a researcher for the Poverty Alleviation Programme Xinjiang in 2011/2012.
Dr Alessandra Cappelletti (left), of Xi’an Jiaotong-Liverpool University, was a researcher for the Poverty Alleviation Programme Xinjiang in 2011/2012.

ดร. อเลสซานดรา คัปเปลเลตติ รองศาสตราจารย์จากคณะการต่างประเทศศึกษา มหาวิทยาลัยซีอาน เจียวทง-ลิเวอร์พูล (XJTLU) กล่าวว่า มีเหตุผลสองสามประการที่ทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก และเชื่อว่ามีบทเรียนหลายอย่างที่ประเทศอื่น ๆ สามารถเรียนรู้ได้ ดังนี้

บทเรียนที่ 1: ให้ความสำคัญสูงสุด

หนึ่งในกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของจีนคือ ปณิธานทางการเมืองอันแรงกล้า โดย ดร. คัปเปลเลตติ กล่าวว่า "รัฐบาลจีนใช้กลไกทุกอย่างที่มีเพื่อบรรลุผลสำเร็จ"

ภารกิจดังกล่าวดำเนินไปอย่างราบรื่น จนกระทั่งต้นปีที่แล้วได้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว

อย่างไรก็ดี แทนที่จะระงับโครงการไว้ก่อน รัฐบาลกลางกลับเร่งสั่งการให้เจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นยึดเป้าหมายเดิม "เมื่อรัฐบาลกลางระบุเป้าหมายที่ชัดเจน นั่นคือสิ่งที่ต้องทำ"

บทเรียนที่ 2: คิดล่วงหน้า

เมื่ออำเภอใดอำเภอหนึ่งหลุดพ้นจากความยากจนแล้ว หลายคนคิดว่าเจ้าหน้าที่คงได้ผ่อนคลายและฉลองความสำเร็จ แต่ ดร. คัปเปลเลตติ กล่าวว่า "ผู้กำหนดนโยบายของจีนคิดล่วงหน้าไว้แล้วว่า ทุกการแก้ปัญหาจะทำให้มีปัญหาใหม่เกิดขึ้นมาอีก 10 อย่าง นี่คือการมองโลกแบบที่ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กัน และมองเห็นความซับซ้อนในทุกสิ่งทุกอย่าง" 

หนึ่งในปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นก็คือ การรักษาความมั่งคั่งให้คงอยู่ต่อไป

ดร. คัปเปลเลตติ กล่าวว่า "หนึ่งในกลยุทธ์การแก้ปัญหาคือ การช่วยเกษตรกรพัฒนาธุรกิจของตนเอง อย่างเช่นหมู่บ้านหนึ่งในมณฑลเสฉวน ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จีนในปักกิ่งได้ช่วยเกษตรกรฟื้นฟูบ้านเรือนและเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าพัก"

บทเรียนที่ 3: มองข้างใน

ดร. คัปเปลเลตติ อธิบายว่า ตลอดหลายปีที่ผ่านมา จีนได้มีการปรับเปลี่ยนจุดสนใจทางเศรษฐกิจ "มีการปรับปรุงระบบเศรษฐกิจจากการพึ่งพาแรงงานค่าแรงต่ำและถ่านหิน ไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเทคโนโลยีอันทันสมัย" นอกจากนี้ จีนยังให้ความสำคัญกับการกระตุ้นตลาดในประเทศและพึ่งพาการส่งออกให้น้อยลง

ดร. คัปเปลเลตติ กล่าวเสริมว่า วิธีกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศทางอ้อมคือ การเพิ่มการลงทุนด้านการศึกษาและการดูแลสุขภาพ เพราะเมื่อคนทั่วไปเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้ในราคาย่อมเยา ก็จะมีเงินเหลือใช้มากขึ้น

"แน่นอนว่ายังมีความท้าทายอีกมาก แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีมุมมองเป็นบวก" เธอกล่าว

Source: Xi'an Jiaotong-Liverpool University
Related Links:
Keywords: Education Higher Education Domestic policy Survey, Polls & Research Public Interest
Related News