omniture

ยูเนสโก-หัวเว่ย ตรวจความคืบหน้าโครงการ Technology-Enabled Open Schools for All ในงานสัมมนาข้ามประเทศ

Huawei
2022-07-18 14:49 188

โครงการระยะเวลา 3 ปีกำลังดำเนินการในประเทศกานา เอธิโอเปีย และอียิปต์ เพื่อให้มั่นใจว่าการเรียนรู้จะมีความต่อเนื่องและมีคุณภาพภายใต้สถานการณ์ปกติและวิกฤต

เซินเจิ้น, จีน--18 ก.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

การสัมมนาข้ามประเทศ 3 วันซึ่งจัดขึ้นที่กรุงอักกรา ประเทศกานา ในหัวข้อโครงการโรงเรียนเปิดที่รองรับเทคโนโลยีสำหรับทุกคน (Technology-Enabled Open Schools for All หรือ TeOSS) ปิดฉากลงไปแล้วเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคมที่ผ่านมา

A three-day cross-country seminar hosted in Accra, Ghana on the subject of the Technology-enabled Open Schools for All (TeOSS) project drew to a close on July 7. 
Following the official launch of the TeOSS project on 25 November 2021, the seminar was co-organized by Huawei and UNESCO as part of the project’s implementation phase. The event included a progress report on the first phase of the project, including results so far, and discussed the implementation of the second phase.
A three-day cross-country seminar hosted in Accra, Ghana on the subject of the Technology-enabled Open Schools for All (TeOSS) project drew to a close on July 7. Following the official launch of the TeOSS project on 25 November 2021, the seminar was co-organized by Huawei and UNESCO as part of the project’s implementation phase. The event included a progress report on the first phase of the project, including results so far, and discussed the implementation of the second phase.

บริษัทหัวเว่ย (Huawei) และยูเนสโก (UNESCO) ร่วมกันจัดงานสัมมนาดังกล่าวขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการดำเนินโครงการ TeOSS หลังเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 โดยงานสัมมนาครั้งนี้ประกอบด้วยรายงานความคืบหน้าในระยะแรกของโครงการ รวมถึงผลสำเร็จจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนการหารือเกี่ยวกับการดำเนินการในระยะที่สอง

ขณะนี้ยูเนสโกกำลังช่วยเหลือกระทรวงศึกษาธิการและพันธมิตรอื่น ๆ ในอียิปต์ เอธิโอเปีย และกานา ด้วยการส่งมอบโครงการ TeOSS ระยะเวลา 3 ปี ซึ่งจะดำเนินไปจนถึงเดือนสิงหาคม 2566 ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวได้รับการพัฒนาภายใต้กรอบกองทุนในทรัสต์ยูเนสโก-หัวเว่ย (UNESCO-Huawei Funds-in-Trust) โดยครอบคลุมการออกแบบ การทดสอบนำร่อง และการขยายระบบโรงเรียนเปิดที่รองรับเทคโนโลยี ซึ่งรวมทั้งหลักสูตร การปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และสังคมสงเคราะห์ ระบบเหล่านี้จะสามารถเข้าถึงได้ในโรงเรียน บ้าน และสถานที่อื่น ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าการศึกษาจะมีความต่อเนื่องและมีคุณภาพแม้ว่าจะมีวิกฤต เช่น โควิด-19 เกิดขึ้นก็ตาม

สเตฟาเนีย จีอันนีนี (Stefania Giannini) ผู้ช่วยอธิบดีฝ่ายการศึกษาของยูเนสโก กล่าวว่า "การขับเคลื่อนการปฏิวัติทางดิจิทัลมีสามแกนด้วยกัน ซึ่งปรากฏให้เห็นในโครงการนี้ทั้งหมด คือหนึ่ง รับประกันว่าทุกคนจะสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ สอง สร้างแพลตฟอร์มและเนื้อหาการเรียนรู้ทางดิจิทัลสาธารณะฟรี และสาม เน้นวิธีที่เทคโนโลยีสามารถยกระดับการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมการสอนได้"

โครงการ TeOSS แต่ละโครงการได้รับการวางแผนร่วมกับรัฐบาลอียิปต์ กานา และเอธิโอเปียอย่างใกล้ชิดตามยุทธศาสตร์ชาติของแต่ละประเทศ โครงการนี้จึงตอบสนองความต้องการของแต่ละที่ได้อย่างเจาะจง

ในอียิปต์ ได้มีการพัฒนากรอบทักษะด้านไอซีทีสำหรับครูและนักเรียนในโรงเรียนระดับ K12 โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรดิจิทัลและครูระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นจะได้รับการฝึกอบรม อีกทั้งจะมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทางไกลแห่งชาติ เพื่อให้นักการศึกษาทั่วประเทศได้ใช้งานเพื่อความต่อเนื่องในการพัฒนาวิชาชีพ

ดร.ฮาเนม อาห์เหม็ด (Dr. Hanem Ahmed) หัวหน้าฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ กล่าวในนามของฯพณฯ ท่าน ดร.ทารึก ชอว์กี (Dr. Tarek Shawki) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและเทคนิคศึกษาแห่งสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ว่า "ตั้งแต่อียิปต์เปิดตัวระบบใหม่ ท่านประธานาธิบดีก็ได้ให้คำมั่นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนว่าจะปรับปรุงรูปแบบการศึกษาของประเทศให้ทันสมัย"

โครงการ TeOSS ในเอธิโอเปียมุ่งเน้นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานไอซีที เพื่อเชื่อมต่อโรงเรียนนำร่อง ฝึกอบรมครูและนักเรียน และสร้างระบบการจัดการการเรียนรู้ที่ผนวกรวมกับแพลตฟอร์มการฝึกอบรมครู

ดร.เซลาเล็ม อัสเซฟา (Dr. Zelalem Assefa) ซีอีโอฝ่ายไอซีทีและการศึกษาทางดิจิทัล ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย กล่าวว่า "โครงการดังกล่าวสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติเอธิโอเปียได้อย่างลงตัว ในเรื่องของความจำเป็นในการใช้เนื้อหาด้านไอซีทีและดิจิทัลในระบบของเรา นอกจากนี้ เรายังเตรียมยกระดับระบบนี้ ด้วยการนำกิจกรรมทั้งหมดนี้มาใช้และปรับเปลี่ยนตามบริบทในท้องถิ่น"

ในกานานั้น โครงการดังกล่าวมุ่งสร้างคอนเทนต์ดิจิทัลในทุกหัวข้อ พร้อมจัดการฝึกอบรมให้ครูและนักเรียนระดับประถมและมัธยมต้น นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังเตรียมสร้างคลังสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ครูได้อัปโหลดเนื้อหา และให้ผู้เรียนเข้าถึงได้ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์โดยแทบไม่ต้องมีการควบคุมดูแล

จอห์น นติม ฟอร์จัวร์ (John Ntim Fordjour) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในนามของดร.ยอว์ โอเซ อดัตวัม (H.E. Dr. Yaw Osei Adutwum) รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐกานา ว่า "เราจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มพูนประสิทธิผลทางการศึกษา หากเราต้องการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนข้อที่ 4 (SDG-4) แล้ว เราจำเป็นต้องใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลในการบรรลุเป้าหมายนี้"

โครงการ TeOSS สอดรับกับหน่วย Tech4Education ตามแผนริเริ่มของหัวเว่ยในการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม หรือ TECH4ALL ที่มุ่งมั่นขับเคลื่อนความเท่าเทียมและคุณภาพทางการศึกษาด้วยเทคโนโลยี โดยมุ่งยกระดับการเข้าถึงทางดิจิทัล ส่งเสริมทักษะดิจิทัล และพัฒนาหลักสูตรคุณภาพสูง ขณะที่โครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี (Huawei ICT Academy) ได้รับการออกแบบเพื่อพัฒนาทักษะทางดิจิทัลเพื่อช่วยบ่มเพาะบุคลากรคนเก่งในสายไอซีที

"เพื่อบรรลุเป้าหมายความยุติธรรมทางการศึกษาและแบ่งปันทรัพยากรการศึกษาในระดับสากล หัวเว่ยได้เปิดตัวแพลตฟอร์มบริการครบจบในที่เดียวอย่าง 'หัวเว่ย ทาเลนต์' (Huawei Talent) ขึ้นมา" จาง จิง (Zhang Jing) กรรมการอาวุโสฝ่ายเครือข่ายบ่มเพาะบุคลากรคนเก่งด้านการศึกษาของหัวเว่ย ประจำโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี กล่าว "เพื่อเป็นสะพานเชื่อมโยงกลุ่มคนเก่งเข้ากับความต้องการคนเก่งในยุคดิจิทัล หัวเว่ยจึงสร้างพันธมิตรรวมคนเก่ง ส่งเสริมทักษะ พัฒนามาตรฐานคนเก่ง และสนับสนุนค่านิยมของคนเก่ง เพื่อช่วยให้โลกมีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น"

เทคโนโลยีดังกล่าวได้แสดงให้เห็นคุณประโยชน์ในการพลิกโฉมแวดวงการศึกษามาแล้ว ซึ่งเป็นประโยชน์ที่จะเพิ่มพูนต่อไปในอนาคต

"เทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายเป็นปัจจัยใหม่ในการขับเคลื่อนผลิตภาพ ซึ่งสนับสนุนการคิดค้นนวัตกรรมด้านโมเดลการศึกษา การยกระดับระเบียบวิธีทางการศึกษา และส่งเสริมสิ่งแวดล้อมทางการศึกษาให้ชาญฉลาดยิ่งขึ้น" เควิน จาง (Kevin Zhang) ซีเอ็มโอฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีของหัวเว่ย กล่าว "เรากำลังสำรวจแนวทางในการนำเทคโนโลยี AI เช่น คอมพิวเตอร์วิทัศน์ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ และการประมวลผลเสียงพูด มาใช้ในการศึกษา โดยเทคโนโลยีล้ำสมัยช่วยแก้ปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดของโลกได้ และเราจำเป็นต้องร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ต่อไป"

ความร่วมมือร่วมใจและความสร้างสรรค์แปลกใหม่ของโครงการ TeOSS นั้น ได้เข้ามาช่วยสร้างการศึกษาที่ทั่วถึง เสมอภาค และมีคุณภาพให้กับทุกคน ทั้งยังสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย โครงการดังกล่าวจะช่วยให้ประเทศต่าง ๆ คิดเรื่องการศึกษาเสียใหม่ และส่งเสริมโรงเรียนและผู้เรียนให้มีความดิจิทัลรับกับยุคสมัยใหม่มากขึ้น

Source: Huawei
Keywords: Computer Software Computer/Electronics Education Multimedia/Online/Internet Telecommunications Telecommunications Carriers and Services New products/services Trade show news