ดูไบ, ยูเออี—17 ต.ค.—พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
หัวเว่ย ได้จัดมหกรรมหัวเว่ย คอนเนกต์ ดูไบ (HUAWEI CONNECT Dubai) ขึ้นที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยมีผู้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมรวมตัวกันในที่แห่งนี้กว่า 3,000 ราย เพื่อพูดคุยกันในหัวข้อ "Innovative Infrastructure to Unleash Digital" (โครงสร้างพื้นฐานล้ำหน้าเพื่อปลดปล่อยพลังแห่งดิจิทัล) ขณะที่ตัวแทนจากกระทรวงอุดมศึกษาและการวิจัยวิทยาศาสตร์ของอียิปต์ บริษัทกาแล็กซี แบ็คโบน ลิมิเต็ด (Galaxy Backbone Limited) ของไนจีเรีย หัวเว่ย และองค์กรอื่น ๆ ได้แบ่งปันแนวปฏิบัติล่าสุดในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สำรวจแนวทางใหม่ ๆ ในการพลิกโฉมสู่ดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม
คุณเคน หู (Ken Hu) ประธานหมุนเวียนของหัวเว่ย ได้กล่าวคำปราศรัยสำคัญเพื่อบอกเล่าแนวทาง 3 ประการที่ระบบนิเวศไอซีทีช่วยทำลายอุปสรรคเดิม ๆ ในการพลิกโฉมสู่ดิจิทัล ได้แก่
คุณสตีเฟน อี้ (Steven Yi) ประธานประจำภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาของหัวเว่ย ได้กล่าวเปิดงานเพื่อแสดงความขอบคุณต่อลูกค้าและคู่ค้าที่ให้ความไว้วางใจ และตอกย้ำพันธสัญญาของหัวเว่ยในการส่งเสริมความก้าวหน้าในพื้นที่ นอกจากนี้ เขายังได้พูดถึงความริเริ่ม 3 ส่วนสำคัญของหัวเว่ย รวมถึงลูกค้าและคู่ค้า เพื่อปลดล็อกประสิทธิภาพทางดิจิทัล และเมื่อรวมพลังกันแล้ว พวกเขาก็พร้อมสร้างรากฐานทางดิจิทัลที่แข็งแกร่งสำหรับทุกคน และเสริมแกร่งระบบนิเวศดิจิทัลในพื้นที่เพื่อสนับสนุนอนาคตของชาติดิจิทัล
เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและสอดรับกับทุกสถานการณ์ ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อปลดล็อกประสิทธิภาพทางดิจิทัล
คุณบ็อบ เฉิน (Bob Chen) รองประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย ได้อธิบายบทบาทความสำคัญของการหลอมรวมเทคโนโลยีเพื่อหาเทคโนโลยีที่เหมาะกับสถานการณ์นั้นที่สุด และได้อธิบายขณะกล่าวคำปราศรัยในหัวข้อ "Innovative Digital Infrastructure Accelerates Digital Transformation" (โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ล้ำสมัยเร่งการพลิกโฉมสู่ดิจิทัล) ว่า "ข้อมูลเป็นหัวใจสำคัญของการพลิกโฉมสู่ดิจิทัล และการรวบรวม ส่ง จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลเป็นขั้นตอนสำคัญ หัวเว่ยให้บริการผลิตภัณฑ์แบบฟูลสแต็กและชุดผลิตภัณฑ์ที่รองรับการประมวลผลข้อมูลตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งเร่งการพลิกโฉมสู่ดิจิทัลของลูกค้า"
ในแง่ของการเชื่อมโยงข้อมูลนั้น หัวเว่ยได้เปิดตัว NetEngine AR5710 ซึ่งเป็นเกตเวย์แบบไฮเปอร์คอนเวิร์จที่เหมาะกับสำนักงานสาขาขนาดเล็กและขนาดกลาง และ NetEngine 8000 F8 ซึ่งเป็นเราเตอร์บริการอเนกประสงค์ขนาดเล็ก ผลิตภัณฑ์ใหม่เหล่านี้ช่วยวางรากฐานข้อมูลที่แข็งแกร่ง เพื่อปลดปล่อยประสิทธิภาพทางดิจิทัลไปอีกขั้น
ในแง่ของการส่งข้อมูลนั้น หัวเว่ยได้สำรวจหาแนวทางนำเครือข่ายประจำที่รุ่นที่ห้า (F5G) ไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้ หัวเว่ยและลูกค้ารายหนึ่งในดูไบ ยังร่วมกันเปิดตัวโซลูชันตรวจสอบเส้นทางดิจิทัลโดยใช้เทคโนโลยีตรวจจับแบบออปติคอลไฟเบอร์ ทำให้ตรวจสอบเส้นทางได้อัตโนมัติ
ในส่วนของการจัดเก็บข้อมูล หัวเว่ยและคอมม์วอลท์ ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์บริหารจัดการข้อมูล ได้ร่วมกันเปิดตัวโซลูชันปกป้องข้อมูลที่ช่วยให้ลูกค้าภาคองค์กรปกป้องข้อมูลได้อย่างแน่นหนาและเชื่อถือได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ช่วยสร้างรากฐานในการเก็บข้อมูลที่เชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพ เปิดโอกาสให้องค์กรต่าง ๆ ใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้มากที่สุด
คุณจอย ฮวง (Joy Huang) ประธานฝ่ายกลยุทธ์คลาวด์และการพัฒนาอุตสาหกรรมของหัวเว่ย เปิดเผยว่า แนวทางของหัวเว่ยในการพลิกโฉมสู่ดิจิทัลมีเสาหลัก 3 ประการด้วยกัน ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยิ่งกว่า นวัตกรรมที่คิดค้นต่อเนื่อง และประสบการณ์ร่วมกัน โดยหัวเว่ย คลาวด์ มีเป้าหมายเพื่อเป็นพันธมิตรด้านดิจิทัลที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า และกำลังทำงานร่วมกับพันธมิตรและลูกค้าเพื่อปลดปล่อยพลังของดิจิทัลในรูปแบบบริการทุกอย่าง (Everything as a Service)
วางโครงสร้างพื้นฐานล้ำสมัยในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม
ในงานนี้ ลูกค้าจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในตะวันออกกลางและแอฟริกา ยังร่วมแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดกับหัวเว่ยในการพลิกโฉมสู่ดิจิทัลด้วย
ดร.เฮอชาม ฟารูค อาลี (Hesham Farouk Ali) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุดมศึกษาและการวิจัยวิทยาศาสตร์ของอียิปต์ เปิดเผยว่า เทคโนโลยีไอซีทีจะทำให้การศึกษายึดผู้คนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น และเร่งพลิกโฉมวิธีการเรียนการสอน ความเชี่ยวชาญของหัวเว่ยในด้านเครือข่ายการศึกษาและวิจัย คลาวด์ และปัญญาประดิษฐ์ กำลังให้การสนับสนุนที่สำคัญยิ่ง และวางรากฐานรองรับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในวงการอุดมศึกษาในอียิปต์
คุณบัฟฟาโจ เบตา (Baffajo Beita) ซีไอโอบริษัทกาแล็กซี แบ็คโบน ลิมิเต็ด เปิดเผยว่า กาแล็กซีและหัวเว่ยได้ร่วมคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้วยกัน เพื่อช่วยไนจีเรียสร้างเครือข่ายคลาวด์รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่รวมทั้งหมดไว้ในที่เดียว ซึ่งเร่งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของรัฐบาล และส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ
หัวเว่ย เอ็มพาวเวอร์ โปรแกรม: สร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่เจริญก้าวหน้าเพื่อพันธมิตรทั่วโลก
ในงานดังกล่าว หัวเว่ยได้เปิดตัวหัวเว่ย เอ็มพาวเวอร์ โปรแกรม (Huawei Empower Program) เพื่อช่วยพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัลที่เจริญก้าวหน้าสำหรับพันธมิตรทั่วโลก หัวเว่ยจะใช้โปรแกรมดังกล่าวคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ร่วมกับพันธมิตรผ่านโอเพ่นแล็ป (OpenLab) สนับสนุนพันธมิตรด้วยกรอบการทำงานแบบใหม่ แผนการใหม่ และแพลตฟอร์มรวม พร้อมสร้างกลุ่มบุคลากรมากความสามารถผ่านหัวเว่ย ไอซีที อคาเดมี่ (Huawei ICT Academy) และโครงการหัวเว่ย ออโทไรซ์ เลิร์นนิง พาร์ทเนอร์ (Huawei Authorized Learning Partner หรือ HALP) นอกจากนี้ หัวเว่ยยังประกาศลงทุน 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐในโปรแกรมดังกล่าวในช่วง 3 ปีข้างหน้า เพื่อสนับสนุนพันธมิตรทั่วโลก