omniture

สิงคโปร์ตั้งมูลนิธิตรวจสอบเอไอ สร้างมาตรฐานสากลผ่านความร่วมมือ

Infocomm Media Development Authority of Singapore and Informa Tech
2023-06-08 22:57 224

IMDA ยังเผยแพร่รายงานสำรวจแนวปฏิบัติของสิงคโปร์ เพื่อกำกับดูแลเอไอแบบรู้สร้างด้วย

สิงคโปร์, 8 มิถุนายน 2566/พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต

คุณโจเซฟิน เตียว (Josephine Teo) รัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศของสิงคโปร์ ประกาศในที่ประชุมเอเชียเทค เอ็กซ์ เอไอ (ATxAI) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานเอเชียเทค เอ็กซ์ สิงคโปร์ (Asia Tech x Singapore หรือ ATxSG) เพื่อก่อตั้งมูลนิธิตรวจสอบปัญญาประดิษฐ์ (AI Verify Foundation) ในการควบคุมและใช้ประโยชน์ รวมถึงสนับสนุนชุมชนโอเพนซอร์ซทั่วโลก เพื่อพัฒนาเครื่องมือทดลองปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ส่งเสริมการใช้เอไออย่างมีความรับผิดชอบ โดยทางมูลนิธิจะเข้าไปส่งเสริมศักยภาพในการทดสอบเอไอและสร้างความมั่นใจว่า ความต้องการของผู้คุมกฎกับภาคเอกชนทั่วโลกจะได้รับการตอบสนอง สมาชิกผู้บุกเบิกทั้ง 7 ราย ได้แก่ องค์การพัฒนาสื่ออินโฟคอม (Infocomm Media Development Authority หรือ IMDA) ไอเคเดียม (Aicadium) หรือศูนย์เอไอเพื่อความเป็นเลิศของเทมาเส็ก ไอบีเอ็ม (IBM) ไมโครซอฟท์ (Microsoft) กูเกิล (Google) เรด แฮท (Red Hat) และเซลส์ฟอร์ซ (Salesforce) จะเป็นผู้นำในการกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์และการพัฒนาโรดแมปของมูลนิธิฯ ขณะที่มีสมาชิกทั่วไปรายอื่น ๆ เข้าร่วมในช่วงเริ่มต้นกว่า 60 ราย เช่น อะโดบี (Adobe) ดีบีเอส (DBS) เมตา (Meta) เซนส์ไทม์ (SenseTime) และสิงคโปร์ แอร์ไลนส์ (Singapore Airlines)[1]

สร้างรากฐานเพื่อเอไอที่เชื่อถือได้

การก่อตั้งมูลนิธิตรวจสอบปัญญาประดิษฐ์จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากกรอบการตรวจสอบเอไอ (AI Verify) เพื่อระบุความเสี่ยงของเอไอ โดยเป็นโครงข่ายการตรวจสอบธรรมาภิบาลและชุดเครื่องมือซอฟต์แวร์เอไอ ซึ่งในตอนแรกได้รับการพัฒนาโดย IMDA ร่วมกับบริษัทเอกชนที่มีธุรกิจและขนาดที่แตกต่างกัน มูลนิธิฯ จะช่วยประคับประคองชุมชนโอเพนซอร์ซ เพื่อสนับสนุนโครงข่ายการตรวจสอบเอไอ ฐานรหัส มาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ รวมถึงสร้างแพลตฟอร์มเป็นกลางเพื่อเปิดให้มีความร่วมมือและการแบ่งปันความคิดในการควบคุมและทดสอบเอไอ

กรอบการตรวจสอบเอไอได้เปิดตัวเป็นผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง (MVP) ให้นำร่องได้ทั่วโลกเมื่อปีที่แล้ว จนดึงดูดความสนใจจากบริษัทข้ามชาติและท้องถิ่นได้กว่า 50 แห่ง รวมถึง ไอบีเอ็ม เดลล์ (Dell) ฮิตาชิ (Hitachi) และยูบีเอส (UBS) โดยขณะนี้กรอบการตรวจสอบเอไอได้เปิดให้ชุมชนโอเพนซอร์ซเข้าถึงได้ และจะสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนทั่วโลกด้วยการจัดหาโครงข่ายการตรวจสอบและชุดเครื่องมือที่ยึดหลักธรรมาภิบาลเอไอที่นานาชาติให้การยอมรับ เช่น สหภาพยุโรป (EU) องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และสิงคโปร์ ชุดเครื่องมือตรวจสอบเอไอ มอบส่วนเชื่อมต่อแบบบูรณาการ เพื่อสร้างรายงานการทดสอบที่ครอบคลุมหลักธรรมาภิบาลที่แตกต่างกันไปสำหรับระบบเอไอ สิ่งเหล่านี้ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ มีความโปร่งใสมากขึ้นในการใช้เอไอ เพราะมีการเผยแพร่รายงานดังกล่าวแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ความจำเป็นในการร่วมมือเพื่อยกระดับการทดสอบเอไอทั่วโลก

IMDA ได้สร้างกรอบการตรวจสอบเอไอขึ้น เพื่อช่วยเหลือองค์กรต่าง ๆ ในการพิสูจน์เอไอที่มีความรับผิดชอบอย่างไม่มีอคติผ่านการทดสอบที่ได้มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการทดสอบเอไอแม้จะเติบโต แต่ก็ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ยังมีความต้องการในการระดมผู้เชี่ยวชาญที่ดีที่สุดจากทั่วอุตสาหกรรมและชุมชนวิจัยเพื่อพัฒนาในส่วนงานนี

คุณเตียว กล่าวว่า แม้จะตระหนักถึงความเป็นไปได้ของความเสี่ยงที่มาจากเอไอ แต่รัฐบาลก็ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยลำพัง "ภาคเอกชนด้วยความเชี่ยวชาญที่มี สามารถเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อบรรลุเป้าหมายไปพร้อมกับภาครัฐได้" และเสริมว่า ท่ามกลางความหวาดกลัวและความกังวลที่มีต่อการพัฒนาเอไอ เราจำเป็นต้องนำทางเอไอไปสู่การใช้ประโยชน์ และหลีกหนีจากสิ่งเลวร้าย "นี่คือหลักสำคัญที่สิงคโปร์คิดเกี่ยวกับเอไอ"

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับงาน ATxSG ได้ที่ www.asiatechxsg.com/atxsummit 

[1] อ่านรายชื่อสมาชิกทั้งหมดได้ที่ https://aiverifyfoundation.sg/foundation-members/ 

ติดต่อ: 
aung_thi_ha@imda.gov.sg 

ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ (Hill+Knowlton Strategies)
HKATxSG@hkstrategies.com 

Source: Infocomm Media Development Authority of Singapore and Informa Tech
Keywords: Computer Software Computer/Electronics Telecommunications Contracts New products/services Survey, Polls & Research
Related News