omniture

บูสต์เตรียมเปิดตัวบริการธนาคารดิจิทัล ชูจุดเด่นโมเดลธุรกิจที่ทำกำไรได้

Boost
2023-08-21 22:00 94

กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย, 21 ส.ค. 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต

ปัจจุบันมีธนาคารดิจิทัลอยู่ราว 250 แห่งทั่วโลก และ 20% ในจำนวนนี้อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก [1] ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าธนาคารดิจิทัลจะเข้ามากำหนดอนาคตของอุตสาหกรรมฟินเทค

มาเลเซียเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์ระดับโลกนี้เช่นกัน เนื่องจากธนาคารกลางมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia: BNM) เพิ่งประกาศออกใบอนุญาตประกอบกิจการธนาคารดิจิทัลให้กับผู้เล่นชั้นนำ 5 รายในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและการเงิน หนึ่งในนั้นคือ กลุ่มความร่วมมือบูสต์-อาร์เอชบี (Boost-RHB Consortium) ซึ่งนำโดย บูสต์ ธุรกิจฟินเทคครบวงจรระดับภูมิภาคของเอเซียต้า (Axiata)

ข้อสังเกตที่สำคัญประการหนึ่งในตลาดดิจิทัลแบงกิ้งของมาเลเซียคือ การมุ่งเน้นไปที่ผู้ให้บริการที่มีโมเดลธุรกิจที่ทำกำไรได้ ดังเห็นได้จากเกณฑ์การประเมินของธนาคารกลางมาเลเซียซึ่งให้ความสำคัญกับคุณลักษณะและคุณธรรมของผู้ยื่นขอใบอนุญาต, ลักษณะและความเพียงพอของทรัพยากรทางการเงิน, ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแผนธุรกิจและเทคโนโลยี ตลอดจนความสามารถในการลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างมีนัยสำคัญ[2]

เรามาวิเคราะห์กันว่า เหตุใดกลุ่มความร่วมมือบูสต์-อาร์เอชบี จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำภาคธนาคารดิจิทัลของมาเลเซีย

1. ประวัติผลงานที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว และการมีส่วนร่วมของลูกค้า
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บูสต์ได้วางรากฐานให้กับอุตสาหกรรมธนาคารดิจิทัล โดยดำเนินการผ่านธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการอย่างทั่วถึงและยั่งยืน นับตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงต้นปี 2566 ธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ของบูสต์ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม โดยจัดสรรเงินกู้ให้แก่ลูกค้าในมาเลเซียและอินโดนีเซียรวมแล้วเป็นมูลค่ากว่า 3 พันล้านริงกิต

2. ระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการยอมรับ 
ธนาคารดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จจะใช้ระบบนิเวศของตนเอง เนื่องจากธนาคารที่นำโมเดลธุรกิจนี้ไปใช้ได้อย่างเหมาะสมจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการหาลูกค้าต่ำกว่า บูสต์มาพร้อมระบบนิเวศฟินเทคแบบองค์รวมที่ครอบคลุมธุรกิจไมโครไฟแนนซ์ที่ใช้ AI, แอปฟินเทคแบบครบในหนึ่งเดียวที่มีผู้ใช้มากกว่า 10 ล้านคน, แพลตฟอร์มโซลูชันฝั่งผู้ค้าที่มีจุดบริการร้านค้ามากกว่า 600,000 จุด และแพลตฟอร์มการชำระเงินข้ามแดนที่มีพันธมิตรดิจิทัลระดับโลกมากกว่า 100 รายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

3. ระยะเวลาการผ่อนชำระที่สั้นลง และสามารถทำกำไรจากการให้บริการลูกค้าหนึ่งรายหรือการให้บริการหนึ่งครั้ง
แม้ว่าการศึกษาหลายฉบับเมื่อเร็ว ๆ นี้แสดงให้เห็นถึงความผันผวนของภาคธนาคาร เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น[3] แต่คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธนาคารดิจิทัลที่อยู่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งรวมถึงธนาคารดิจิทัลที่กำลังจะเปิดตัวอย่าง บูสต์ ทั้งนี้ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการให้บริการผลิตภัณฑ์ที่เรียบง่ายและมีระยะเวลาการผ่อนชำระที่สั้นลง จะช่วยให้บูสต์ไม่ได้รับผลกระทบจากการที่สินทรัพย์และหนี้สินในงบดุลไม่สอดคล้องกัน

อนาคตจะเป็นอย่างไร ทุกสายตาจับจ้องไปที่ภาคส่วนนี้ ในขณะที่การวิจัยบ่งชี้ว่า การใช้บริการธนาคารดิจิทัลกันอย่างแพร่หลายสามารถเพิ่ม GDP ของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ได้ 6% หรือคิดเป็น 3.7 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2568

[1] https://www.bcg.com/publications/2021/digital-banking-asia-pacific

[2] https://www.bnm.gov.my/-/digital-bank-5-licences

[3] https://www.foxbusiness.com/economy/study-finds-186-banks-vulnerable-svb-like-collapse 

Source: Boost
Keywords: Banking/Financial Service Computer/Electronics Financial Technology
Related News